วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567

ธรรมะในวันวาเลนไทน์

ถ้าคนที่เขาเป็นแฟนกันแล้ว เราอย่าไปเกี่ยวข้องแบบจีบ
หรือแบบขอคบ หรือยุให้เขาแตกกันนะ ทำนองว่า เขาเลิกกันเพราะผี๋มือเรา ผี๋ปากเรา" ฝี๋เท้าเรา"

แต่ถ้าเขาหรือเธอคนนั้น  
มีคนมาจีบเยอะเลย 
มีคนมาขอคบด้วยเยอะเลย แต่เขาหรือเธอคนนั้น
ยังไม่ตอบตกลงเป็นแฟนกันกับใคร
นั่นแสดงว่าเขายังโสด..
(หรือเรียกภาษาสมัยใหม่ว่า เขากำลังอ่านหนังสืออยู่)
#คนที่ขอคบนั่นแหละเรียกว่าหนังสือ"


"""เด็กรุ่นใหม่ ไฟแรงใจร้อน"" อ่านได้เล่มหนึ่ง เล่มสอง เล่มสาม ก็เลือกเล่มสาม  เพราะไม่รู้ว่าเล่มต่อไปจะมีไหม? เล่มต่อไปจะเหมือนอย่างนี้ไหม?
-ถ้ายังมีราคะอยู่ เล่มต่อไปก็มี..ไม่ควรใจร้อน
เล่มต่อไปจะเหมือนอย่างนี้ไหม
-ในโลกนี้ไม่มีใครนิสัยเหมือนกัน
มีแต่ต่างกันมาก ต่างกันน้อย หรือคล้ายกัน
 ควรเลือกคบคนที่นิสัยคล้ายกันกับเรา"

แต่ถ้าหากเราไม่ดี แต่แฟนเป็นคนดี
เราต้องปรับนิสัยไปให้คล้ายแฟน

ถ้าเราไม่ดี แล้วเราก็หาคนที่พื้นนิสัยไม่ดีคล้ายเรา
อย่างนี้ มีแต่ฉุดกันและกันให้ตกต่ำ"

"คนที่ใช่ต้องต้องเจอกันในเวลาที่มีสิทธิ์ เวลาที่ไม่มีสิทธิ์ต่อให้เคยครองคู่กันมาเป็นล้านชาติ ถ้าชาตินี้เขาพลัดไปมีคู่ซะแล้ว ยังไงก็ไม่ใช่

แต่ถ้าเขาเป็นคู่เก่าคู่บุญบารมีเก่าเรา
เขาหรือเธอคนนั้นจะแยกย้ายกันเอง
โดยที่คุณไม่ได้มีส่วนในการทำให้เขาเลิกกันแม้แต่นิดเลย


บุคคลเป็นมนุษย์เราต้องมีเป้าหมาย ที่จะทำให้ชีวิตจิตใจตนเองเจริญขึ้น
ถึงจะมีตัวล่อมากมาย  ที่ล่อให้เราหักเหออกนอกเส้นทางเป้าหมายนั้น

เราต้องคอยเตือนตนเองอยู่เสมอๆ
ว่าอย่าหลงไปกับ" ตัวล่อ" นะ


เสขสูตรที่ ๔
[๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉน คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้
แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน
สิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า
เมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด
วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี
ผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยัง
ไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ
โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น
เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมด
สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามี
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มา
สู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง
ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมด
สิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็
หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบัน
เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้ว
จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น
พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปใน
เทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้เพียง
บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๑๙๘ - ๖๒๓๑. หน้าที่ ๒๖๔ - ๒๖๖. 

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

สมาบัติ ๘
วันนี้ หลวงพ่อจะได้น้อมนำเอาธรรมะอันเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสมเด็จพ่อของพวกเราทั้งหลาย ในเรื่อง สมาบัติ ๘ ประการ มาบรรยายประกอบการปฏิบัติของท่านทั้งหลายสืบไป
ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย คำว่า ฌาน กับคำว่า สมาบัติ นั้น ต่างกันโดยพยัญชนะ แต่โดยเนื้อความคือสภาวะแล้วเป็นทำนองเดียวกัน
คำว่า ฌาน แปลว่า เพ่ง ดังเช่นเราเอาดินมาเป็นอารมณ์ เราก็เอาสติกับจิตของเราเข้าไปตั้งไว้ที่ดวงกสิณคือดินนั้นแล้วบริกรรมว่า ปฐวีๆ ดินๆ อย่างนี้ จนสำเร็จเป็นอัปปนาสมาธิได้ เรียกว่า ฌาน หรือเราเพ่งอาการพองอาการยุบก็ดี เพ่งเวทนา เพ่งจิตก็ดี จนสามารถทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ที่เราเพ่งนั้น ก็จัดว่าเป็นฌาน
ฌานนั้นมีอยู่ ๒ ประเภท คือ
๑. อารัมมณูปนิชฌาน ได้แก่ ฌานที่เอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ เช่น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฏฐาน ๑ พรหมวิหาร ๔ อรูปกัมมัฏฐาน ๔
การที่เราเอาอารมณ์เหล่านี้มาบริกรรมมาภาวนา หากว่าได้ฌานขึ้นมาเพราะการบริกรรมดังกล่าวมานี้ เรียกว่า อารัมมณูปนิชฌาน
๒. ลักขณูปนิชฌาน ได้แก่ ฌานที่เพ่งรูปนามเพ่งพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ เช่น พวกเราท่านทั้งหลายเพ่งอาการพอง อาการยุบ อาการนั่ง อาการถูก เพ่งเวทนาคือความสุข ความทุกข์ ความดีใจ ความเสียใจ ความเฉยๆ หรือเพ่งจิตคือความคิด เพ่งธรรมารมณ์ เหล่านี้เรียกว่า เพ่งรูป เพ่งนาม เพ่งพระไตรลักษณ์ ถ้าเราเพ่งหรือบริกรรมดังกล่าวมานี้จนสามารถทำจิตให้สงบเป็นอัปปนาสมาธิเป็นฌาน ฌานนั้นก็เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน
คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติ หมายถึง สมบัติของผู้ได้ฌาน
การเข้าอยู่ในฌานหรือเข้าสมาบัติ อุปมาเหมือนกับบุรุษผู้หลบความร้อนเข้าไปอยู่ในบ้านที่ตนสร้างไว้ดีแล้ว ผู้ที่จะเข้าสมาบัตินั้น โดยมาคิดว่า ความสุขที่เกิดขึ้นจากปริตตารมณ์ เป็นความสุขเล็กๆน้อยๆ สู้ความสุขในฌานไม่ได้ จึงหลีกออกจากหมู่ไปสู่ที่สงบแห่งใดแห่งหนึ่ง ยกจิตของตนขึ้นสู่อารมณ์กัมมัฏฐาน บริกรรมจนจิตสงบเป็นอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เข้าสู่ฌานธรรม
ฌานธรรมนั้นมี ๘ ประการ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔
มีปัญหาอยู่ว่า จะสังเกตหรือทราบได้อย่างไรว่าเราได้ฌานหรือสมาบัติชั้นไหน ทราบได้อย่างนี้ คือ
ในส่วนของรูปฌาน ๔ หรือรูปสมาบัติ
๑. ปฐมฌาน เมื่อจิตเข้าถึงปฐมฌานจะข่มนิวรณ์ธรรมลงได้ นิวรณ์ แปลว่า ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณงามความดีมีศีล สมาธิ ปัญญา มรรค ผล พระนิพพาน เป็นต้น หรือกั้นศีล สมาธิ ปัญญา สมาบัติ มรรค ผล พระนิพพาน ไม่ให้เข้าถึงตัวเรา นิวรณ์ธรรมนี้ เป็นอันตรายของปฐมฌานและของทุกๆฌานด้วย
นิวรณ์นั้นมีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑) กามฉันทะ พอใจในอารมณ์ เช่น พอใจในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรืออารมณ์เหล่าใดที่เกิดขึ้นในขณะที่เจริญพระกัมมัฏฐาน จัดเป็นกามฉันทะ
๒) พยาบาท ไม่พอใจในอารมณ์ เช่น ไม่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ที่ไม่ดี ซึ่งเกิดขึ้นตอนปฏิบัติ หรืออารมณ์ใดๆก็ดี ซึ่งเกิดขึ้นในเวลาปฏิบัติ เราไม่พอใจ ไม่ชอบใจ จัดเป็นพยาบาท
๓) ถีนมิทธะ ความง่วงงุน ความหดหู่ ความท้อแท้ ความง่วงเหงาหาวนอน
๔) อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ความรำคาญ เมื่อนึกถึงบาปหรือความชั่วที่ตนทำไว้ แต่บุญไม่ได้ทำ
๕) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย เช่น สงสัยในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยเรื่องโลกนี้โลกหน้า สงสัยเรื่องนรก สวรรค์ พระนิพพาน เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไร สังเกตได้อย่างไร ว่าเราเข้าถึงปฐมฌาน หรือการฝึกสมาธิอยู่ในขณะนี้ หรือการอธิษฐานจิตอยู่ในขณะนี้ เราได้ปฐมฌานหรือไม่นั้น เราพึงสังเกตดังนี้ คือ
ในขณะเข้าถึงปฐมฌานนั้น ยังจะมีบริกรรมอยู่ ยังมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ยังมีบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธ คำใดคำหนึ่งอยู่ เสียงก็ยังได้ยินอยู่ แต่ได้ยินไม่เต็มที่ ไม่ได้ยินเหมือนอย่างธรรมดาที่เราได้ยินอยู่ในขณะนี้ คือว่าเสียงนั้นลดน้อยลงไป หรือมีความรู้สึกว่าน้อยลงไป แต่ว่าในขณะนั้นจิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต จิตใจของเราจดจ่ออยู่เฉพาะบทพระกัมมัฏฐาน
สมมติว่าเรากำหนดอาการพองอาการยุบ จิตใจนั้นก็อยู่กับอาการพองอาการยุบ ไม่นึกถึงเรื่องอดีตอนาคต หากว่ามีเสียงอะไรเกิดขึ้นในขณะที่นั่งอยู่นั้นก็ไม่สะดุ้งตกใจ เขาจะมาจุดประทัดอยู่ข้างๆก็ตาม จิตใจของเราเฉยอยู่ ไม่มีการสะดุ้ง ไม่มีการตกใจ ไม่มีการฟุ้งซ่าน หรือว่าในขณะนั้นมีมะพร้าวร่วงลงมาก็ดี กิ่งไม้ร่วงลงมาถูกสังกะสีก็ดี ก็เฉยอยู่ ไม่มีการสะทกสะท้าน ไม่มีการตกใจ ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วก็แสดงว่าเข้าถึงปฐมฌานแล้ว
ถ้าหากว่าฌานไม่เสื่อม ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้
ผู้ใดได้ปฐมฌานอย่างหยาบ ฌานไม่เสื่อม เวลาตายตายในฌาน ด้วยอำนาจของฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปฐมฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็นพรหมปาริสัชชา ในรูปพรหมชั้นที่ ๑ มีอายุยืน ๑ ใน ๓ ของมหากัป
ผู้ได้ปฐมฌานอย่างกลาง ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจของฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปฐมฌานวิบากปฏิสนธิจิต เกิดเป็นพรหมปุโรหิตา ในรูปพรหมชั้นที่ ๒ มีอายุ ๑ ใน ๒ มหากัป
ผู้ใดได้ปฐมฌานอย่างประณีต ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดปฐมฌานวิบากปฏิสนธิจิต เกิดเป็นมหาพรหม ในรูปพรหมชั้นที่ ๓ มีอายุยืน ๑ มหากัป
ถ้าเอาสมาธิขั้นปฐมฌานนี้มาเป็นเครื่องรองรับการเจริญวิปัสสนา ก็สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพาน เร็วขึ้นกว่าธรรมดา
๒. ทุติยฌาน หรือ ทุติยสมาบัติที่สอง เมื่อได้ปฐมฌานและฝึกให้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ แล้ว ก็จะได้เจริญทุติยฌานต่อไป เมื่อเข้าถึงทุติยฌานแล้ว มีแต่เพ่งอารมณ์ จิตตั้งมั่นแน่วแน่กับอารมณ์ แต่ไม่ได้บริกรรมว่า พุทโธๆ หรือยุบหนอพองหนอเลย
เพราะเหตุไรจึงไม่ได้บริกรรม
สาเหตุที่ไม่ได้บริกรรมเพราะว่า ฌานที่ ๒ คือทุติยฌานนี้ละวิตกวิจารได้แล้ว เหลือแต่ปีติ สุข และเอกัคคตาเท่านั้น ปีติ ความอิ่มใจนั้นมี ๕ ประการ คือ
๑) ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย มีอาการน้ำตาไหล หรือขนลุกขนชัน เป็นต้น
๒) ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ มีอาการเกิดในจักษุทวารเหมือนกันกับสายฟ้าแลบหรือตีเหล็กไฟเป็นต้น
๓) โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ มีอาการซู่ซ่าไปตามร่างกาย หรือเป็นดุจระลอกซัด เป็นต้น
๔) อุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน ทำให้ใจฟู ตัวเบา ตัวลอย เป็นต้น
๕) ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ทำให้ตัวเย็นซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย เป็นต้น
ปีตินั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้จิตใจอิ่มเอิบ ชุ่มชื่น เป็นสุข สงบแน่วแน่อยู่กับอารมณ์พระกัมมัฏฐาน
เราจะสังเกตอย่างไรว่าถึงฌานที่ ๒ แล้ว เราสังเกตเอาง่ายๆ คือ ในขณะนั้นความรู้สึกของเราก็ยังมีอยู่นิดๆ เสียงก็ยังมีอยู่นิดๆ แต่ว่าเราไม่ได้บริกรรมหรือภาวนา เพราะว่าผ่านวิตกวิจารไปแล้วจึงไม่มีการบริกรรม แต่เมื่อได้บริกรรมขึ้นมาเมื่อใด แสดงว่าจิตของเราตกจากทุติยฌานลงมาปฐมฌาน คือเมื่อจิตของเราตกลงมาอยู่ที่ฌานที่หนึ่ง ก็จะได้ภาวนาว่า พุทโธๆ หรือพองหนอยุบหนอ อย่างนี้เรียกว่า จิตลงมาปฐมฌาน
ถ้าถึงทุติยฌานจะไม่มีบริกรรม แต่ว่าเราไม่ได้ตั้งใจหยุดบริกรรม หรือว่าเราไม่ได้คิดว่าเราจะหยุดบริกรรม แต่ว่าหยุดเองโดยธรรมชาติ เป็นไปตามอัตโนมัติ
อันตรายของทุติยฌาน คือ วิตก วิจาร หากวิตกวิจารเกิดขึ้นเมื่อไร ก็ได้บริกรรมบทพระกัมมัฏฐานเมื่อนั้น และแสดงว่าจิตนี้ตกจากทุติยฌานแล้ว เหตุนั้น พึงตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี
เมื่อได้ทุติยฌานแล้ว ก็พยายามประคับประคองจิตไว้ในทุติยฌานนั้น และถ้าหากว่าฌานไม่เสื่อม ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้
ผู้ได้ทุติยฌาน ถ้าหากว่าจุติด้วยอำนาจทุติยฌานกุศลอย่างต่ำคืออย่างหยาบ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็นพรหมปริตตาภา คือรูปพรหมชั้นที่ ๔ มีอายุยืนถึง ๒ มหากัป
ถ้าผู้ได้ทุติยฌานอย่างกลาง ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็นพรหมอัปปมาณาภา คือรูปพรหมชั้นที่ ๕ มีอายุยืนถึง ๔ มหากัป
ถ้าผู้ได้ทุติยฌานอย่างประณีต ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจของฌานนั้น ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดทุติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็นพรหมอาภัสสรา คือรูปพรหมชั้นที่ ๖ มีอายุยืน ๘ มหากัป
ถ้าเอาสมาธิในขั้นทุติยฌานนี้มาเป็นพื้นฐานเครื่องรองรับการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็สามารถที่จะบรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วกว่าสมาธิในฌานขั้นที่ ๑
๓. ตติยฌาน หรือ ตติยสมาบัติที่สาม เมื่อปฏิบัติได้ถึงฌานที่ ๓ นี้แล้ว ปีติ ๕ ประการดังกล่าวมาข้างต้นนั้นก็หมดไป เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงไม่มีแล้ว เมื่อมาถึงฌานนี้
เราจะนั่งสักกี่ชั่วโมง ความเจ็บปวดก็ไม่มี เพราะว่าเมื่อถึงฌานนี้ เหลือแต่ความสุขกับเอกัคคตาเท่านั้น ความสุขที่ได้รับในฌานธรรมนี้ จะหาความสุขใดที่เป็นโลกิยะมาเปรียบเทียบมิได้ หมายความว่า ความสุขในโลกิยะนั้น มีความสุขในฌานเป็นความสุขอันยอดเยี่ยม
ธรรมอันเป็นข้าศึกของฌานที่ ๓ คือ ปีติ ขณะใดที่มีอาการขนลุกขนชัน น้ำตาไหล มีอาการเสียวแปลบปลาบตามร่างกายเหมือนมีคลื่นกระทบฝั่ง หรือใจฟู ตัวเบาตัวลอย มีอาการซาบซ่านทั่วสรรพางค์กายเป็นต้น นั่นแสดงว่าจิตของเราตกจากฌานที่ ๓ มาถึงฌานที่ ๒ แล้ว
เมื่อถึงฌานที่ ๓ แล้ว เราจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ จะมีอาการตึงหรือเครียดตามร่างกาย มือแข็ง แขนแข็ง ตัวแข็ง นิ้วมือนิ้วเท้าไม่สามารถกระดิกได้ การก้มเงยคู้เหยียดก็ไม่อาจที่จะทำได้ ไม่สามารถที่เหลียวซ้ายแลขวาได้ เพราะในขณะนั้น เหมือนกันกับเอาเหล็กแหลมๆ ไม้แหลมๆ ตอกลงที่ศีรษะไปตามตัวแล้วตรึงแน่นไว้กับพื้น ไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนได้
และในขณะนั้น ความรู้สึกก็ยังมีอยู่นิดๆ เสียงก็ยังมีอยู่นิดๆ เกือบจะว่าไม่มีในขณะนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ขอให้เข้าใจเถิดว่าถึงฌานที่ ๓ แล้ว และเมื่อถึงฌานที่ ๓ แล้ว ก็ขอให้พยายามประคับประคองตั้งสติสัมปชัญญะรักษาไว้ให้ดี อย่าให้ต้องถอยออกจากฌานที่ ๓ จนกว่าจะฝึกชำนาญในวสีทั้ง ๕ ประการ เพื่อจะเป็นมรรคาไต่เต้าเข้าไปสู่จตุตถฌานที่ ๔ ต่อไป และผู้ที่ไม่เสื่อมจากฌานที่ ๓ ย่อมมีอานิสงส์ดังนี้ คือ
ถ้าผู้ได้ตติยฌานอย่างหยาบหรืออย่างต่ำ ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจของฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็นพรหมปริตตสุภา ในตติยฌานภูมิ คือรูปพรหมชั้นที่ ๗ มีอายุยืน ๑๖ มหากัป
ผู้ที่ได้ตติยฌานอย่างกลาง ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจของฌานนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็นพรหมอัปปมาณสุภา ในตติยฌานภูมิ คือรูปพรหมชั้นที่ ๘ มีอายุยืน ๓๒ มหากัป
ผู้ที่ได้ตติยฌานอย่างประณีต ฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ด้วยอำนาจของฌานกุศลนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดตติยฌานวิบากปฏิสนธิจิต บังเกิดเป็นพรหมสุภกิณหกา ในตติยฌานภูมิ คือ รูปพรหมชั้นที่ ๙ มีอายุยืน ๖๔ มหากัป
หากว่าเอาสมาธิในตติยฌานนี้มาเป็นพื้นฐานเครื่องรองรับการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็สามารถที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วกว่าสมาธิในฌานที่ ๒
๔. จตุตถฌาน หรือ จตุตถสมาบัติที่สี่ เมื่อถึงฌานที่ ๔ แล้ว จะละสุขได้ เหลือแต่เอกัคคตา และเกิดอุเปกขารมณ์เพิ่มขึ้นอีกองค์หนึ่ง
เราจะทราบได้อย่างไรว่าถึงฌานที่ ๔
เราสังเกตได้ด้วยหลัก ๒ ประการ คือ
๑) ความรู้สึกหมดไป
๒) ลมหายใจไม่มี
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคท่านกล่าวไว้ว่า ลมหายใจจะไม่มีในบุคคล ๗ จำพวก คือ เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ๑ คนตาย ๑ คนดำน้ำ ๑ ผู้เข้าถึงจตุตถฌาน ๑ พรหมในอสัญญีภพ ๑ รูปพรหมอรูปพรหม ๑ พระอริยเจ้าผู้เข้านิโรธ ๑
เมื่อเข้าถึงจตุตถฌานแล้ว ความรู้สึกจะไม่มี ลมหายใจก็ไม่มี เราจะเอาสำลีมาไว้ที่ปลายจมูกก็ไม่ปลิว หากว่าจับดูตามร่างกายจะรู้สึกเหมือนกับจับคนที่ตายไปแล้วหลายชั่วโมง เย็นเหมือนจับน้ำแข็ง ถ้าท่านทั้งหลายทำได้ดังกล่าวมาแล้วนี้ ก็แสดงว่าท่านทั้งหลายถึงฌานที่ ๔ แล้ว
สภาวธรรมที่เป็นข้าศึกแก่จตุตฌาน คือ ลมอัสสาสะปัสสาสะ คือถ้าปรากฏว่าหายใจเข้าหายใจออกขณะใด ขณะนั้น แสดงว่าจิตของเราถอยออกจากจตุตถฌานแล้ว เหตุนั้น ขอให้นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายพึงใช้สติสัมปชัญญะรักษาไว้ให้ดี ไม่ให้ถอยออกจากฌานที่ตนได้ และจตุตถฌานนี้มีอานิสงส์ดังนี้
ผู้ได้จตุตถฌานทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างประณีต หากฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ก็จะปฏิสนธิเป็นพรหมเวหัปผลา อันเป็นรูปพรหมชั้นที่ ๑๐ มีอายุยืน ๕๐๐ มหากัป
ผู้ได้จตุตถฌานที่เป็น พระอนาคามี ก็จะไปปฏิสนธิในขั้น สุทธาวาสภูมิ ๕ ชั้น ซึ่งมีอายุยืนตามลำดับ ดังนี้คือ
๑. ชั้นอวิหา มีอายุยืน ๑,๐๐๐ มหากัป
๒. ชั้นอตัปปา มีอายุยืน ๒,๐๐๐ มหากัป
๓. ชั้นสุทัสสา มีอายุยืน ๔,๐๐๐ มหากัป
๔. ชั้นสุทัสสี มีอายุยืน ๘,๐๐๐ มหากัป
๕. ชั้นอกนิษฐา มีอายุยืน ๑๖,๐๐๐ มหากัป
และอานิสงส์ที่จะได้พิเศษจากรูปฌานที่ ๔ คือ เป็นปัจจัยให้ได้บรรลุวิชชา ๓ ได้แก่
๑. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาระลึกชาติหนหลังได้
๒. จุตูปปาตญาณ ปัญญารู้จักการเกิดการตายของบุคคลอื่นและสัตว์อื่นได้
๓. อาสวักขยญาณ ปัญญารู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป
นอกจากนี้ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ได้อภิญญา ๖ คือ
๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้
๒. ทิพพโสตะ ได้หูทิพย์
๓. เจโตปริยญาณ รู้จักวาระจิตของผู้อื่น
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติหนหลังได้
๕. ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
๖. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป
อนึ่ง ผู้ที่ได้จตุตถฌานนี้ ผิวพรรณจะผ่องใส หน้าตาอิ่มเอิบ หากว่าเอาสมาธิขั้นจตุตถฌานนี้มาเป็นพื้นฐานรองรับในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ก็สามารถที่จะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วขึ้นกว่าฌานที่ ๓
ต่อไปเป็นอรูปฌาน
ส่วน อรูปฌาน หรือ อรูปสมาบัติ เป็นฌานหรือสมาบัติที่เอาสิ่งที่ไม่มีรูปมาเป็นอารมณ์ เช่น เอาอากาศมาเป็นอารมณ์ เป็นต้น ทีนี้เราจะทำอย่างไร ในขณะที่เจริญพระกัมมัฏฐานอยู่นี้ เราใช้ท้องพองท้องยุบเป็นอารมณ์ หากว่าเราเจริญอรูปฌานทั้ง ๔ นี้ เราจะทำอย่างไร เราทำได้อย่างนี้คือ
เมื่อเราทำสมาธิคือรูปฌาน ๔ ให้คล่องแคล่วชำนาญในวสีทั้ง ๕ ประการดีแล้ว ในขณะที่เจริญอรูปกัมมัฏฐานเราก็เพิกอาการพองอาการยุบนั้นออกไป ไม่กำหนดอาการพอง อาการยุบ ให้เห็นที่ท้องพองท้องยุบนั้นว่างเปล่า มีแต่อากาศอยู่เท่ากับที่เรากำหนดเมื่อก่อนแล้วก็เอาสติปักไว้ที่อากาศนั้น แล้วก็บริกรรมภาวนาว่า อากาโส อนันโตๆ อากาศไม่มีที่สุดๆ จนสามารถทำจิตใจให้สงบเป็นอัปปนาสมาธิ ก็แสดงว่าถึงอรูปฌานที่ ๑ แล้ว
ถ้าหากฌานไม่เสื่อม การตายในฌานนี้ก็จะไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑ คืออากาสานัญจายตนพรหม มีอายุยืนถึง ๒๐,๐๐๐ มหากัป
เมื่อเราชำนาญในอรูปฌานที่ ๑ แล้ว ก็เจริญอรูปฌานที่ ๒ ต่อไป หลังจากที่เห็นโทษของอากาสานัญจายตนะว่ายังไม่ดีนัก ยังเป็นอรูปฌานชั้นต่ำ ยังใกล้ชิดกับรูปฌานอยู่ จึงจะละอากาศเสีย ไม่เอาอากาศมาบริกรรมเหมือนเมื่อก่อน เมื่อก่อนเรารู้ว่าที่นี้เป็นอากาศ เราก็ทิ้งอากาศแล้วเอาสติมาจับเอาความรู้คือตัววิญญาณนั้นมาบริกรรมว่า วิญญาณัง อนันตังๆ วิญญาณไม่มีที่สุดๆ ร่ำไป จนสามารถทำจิตให้สงบเป็นอัปปนาสมาธิ
ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็แสดงว่าจิตของเราเข้าถึงอรูปฌานที่ ๒ คือวิญญาณัญจายตนฌานแล้ว หากว่าฌานไม่เสื่อม ตายในฌานนี้ก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนพรหม มีอายุยืน ๔๐,๐๐๐ มหากัป
เมื่อชำนาญในอรูปฌานที่ ๒ แล้ว พิจารณาเห็นโทษของอรูปฌานที่ ๒ จึงได้ตั้งใจเจริญอรูปฌานที่ ๓ ต่อไป โดยที่มาสำเหนียกถือเอาความว่างเปล่า ความไม่มี ซึ่งเรียกว่า นัตถิภาวบัญญัติ มาบริกรรมมาภาวนาว่า นัตถิ กิญจิๆ นิดหนึ่งก็ไม่มี น้อยหนึ่งก็ไม่มี ร่ำไป จนสามารถทำจิตใจให้สงบเป็นอัปปนาสมาธิ เป็นอุเปกขารมณ์
เมื่อทำได้ดังนี้ ก็แสดงว่าเราได้สำเร็จซึ่งอรูปฌานที่ ๓ แล้ว หากว่าฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ตายแล้วก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓ คือชั้นอากิญจัญญายตนะอรูปพรหม มีอายุยืน ๖๐,๐๐๐ มหากัป
เมื่อชำนาญในอรูปฌานที่ ๓ แล้ว ไม่พอใจเพียงแค่อรูปฌานที่ ๓ นั้น จึงมาเจริญอรูปฌานที่ ๔ ต่อไป วิธีเจริญอรูปฌานที่ ๔ นี้ เราเอาอากิญจัญญายตนฌานนั้นมาเป็นอารมณ์ แล้วเพิกอากิญจัญญายตนฌานนั้นออกไป โดยบริกรรมหรือภาวนาว่า เอตัง สันตัง เอตัง ปณีตังๆ สงบหนอ ประณีตหนอๆ ร่ำไป จนสามารถทำจิตให้เป็นอัปปนาสมาธิ เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอุเปกขารมณ์
เมื่อทำได้อย่างนี้ แสดงว่าได้สำเร็จเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คือ อรูปฌานที่ ๔ แล้ว เมื่อฌานไม่เสื่อม ตายในฌาน ตายแล้วก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม มีอายุยืน ๘๔,๐๐๐ มหากัป
ถ้าเอาสมาธิในอรูปฌานทั้ง ๔ นี้มาเป็นเครื่องรองรับในการเจริญวิปัสสนา ก็จะสามารถบรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วขึ้น เพราะว่าอรูปฌานทั้ง ๔ นี้ มีอารมณ์คล้ายกันกับวิปัสสนาภาวนา คือวิปัสสนาภาวนาท่านสอนให้ละอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆทั้งหมด ทั้งที่เป็นรูป ทั้งที่เป็นนาม
สำหรับอรูปฌานทั้ง ๔ นี้ก็เหมือนกัน ท่านสอนให้ละรูปทิ้งไปให้หมด เอาแต่นามมาบริกรรม เอาอากาศเอาวิญญาณมาบริกรรม อากาศและวิญญาณที่เอามาบริกรรมนั้นก็จะละเอียดเข้าเรื่อยๆ จนถึงสภาวะที่ละเอียดประณีตที่สุด คือเอาวิญญาณเอาความรู้ที่ประณีตที่สุดเกือบจะว่าไม่มีในขณะนั้น เหตุนั้นเมื่ออารมณ์คล้ายคลึงกับวิปัสสนาจึงเป็นเหตุให้บรรลุอริยมรรคอริยผลเร็วขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อได้อรูปฌานที่ ๔ แล้ว มีอานิสงส์เป็นพิเศษ คือทำให้ได้สำเร็จปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ หมายความว่า เราได้เพียงรูปฌาน ๔ ก็เป็นปัจจัยให้ได้วิชชา ๓ อภิญญา ๖ เท่านั้น ไม่สามารถที่จะบรรลุปฏิสัมภิทา ๔ ได้ เมื่อใดเราได้ทั้งรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ รวมเป็นสมาบัติ ๘ เมื่อได้สมาบัติ ๘ ประการนี้ ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้ได้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ซึ่งได้แก่
๑. อัตถปฏิสัมภิทา แตกฉานในอรรถ คือสามารถที่จะอธิบายความของภาษิตย่อๆ หรือหัวข้อธรรมย่อๆ ให้พิสดารได้
๒. ธัมมปฏิสัมภิทา แตกฉานในธรรม คือ สามารถที่จะรวบรวมธรรมะที่ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารมาสรุปให้เหลือสั้นๆลงได้ เหมือนกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสไว้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ วิจิตรพิสดารมาก แต่เมื่อย่อลงให้สั้นๆแล้วก็ได้แก่ อัปปมาทธรรม ความไม่ประมาทเพียงประการเดียว ผู้ได้ธัมมปฏิสัมภิทาก็เหมือนกัน สามารถย่อธรรมะหรือคำพูดที่ท่านพูดโดยพิสดารให้สั้นๆ เข้าใจได้ง่าย
๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในนิรุตติคือภาษา คำว่า แตกฉานในภาษา ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเราบรรลุแล้วเราสามารถจะพูดภาษาต่างประเทศได้ หรือภาษาอะไรต่อมิอะไรก็ได้ ไม่ได้หมายความอย่างนั้น คำว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา แตกฉานในภาษานี้ หมายถึง รู้วิธีพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายๆ
๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา แตกฉานในปฏิภาณ หมายความว่า สามารถที่จะเทศน์ปฏิภาณโวหารได้ ยกภาษิตขึ้นมาก็สามารถที่จะเทศน์ได้แสดงได้ สามารถที่จะบรรยายได้ ปาฐกถาหรืออภิปรายได้
คนที่ปฏิภาณปฏิสัมภิทาไม่เกิด แม้จะบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วก็ไม่สามารถที่จะเทศน์จะแสดงได้ ถ้าจะเทศน์ให้ผู้อื่นฟังก็ต้องอดตาหลับขับตานอนท่องบ่นสาธยายตั้ง ๙ คืน ๑๐ คืนจึงจะมาเทศน์ได้ เทศน์ไป ๓๐ นาทีก็หมดคำเทศน์แล้ว เพราะว่าไม่แตกฉานในปฏิภาณปฏิสัมภิทา แต่ถ้าผู้แตกฉานในปฏิภาณปฏิสัมภิทาแล้ว สามารถที่จะเทศน์ได้แสดงได้
ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ นี้จะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อสำเร็จอรูปฌานที่ ๔ เสียก่อนจึงจะเกิดขึ้น
เมื่อท่านทั้งหลายได้สมาธิดังกล่าวมาตั้งแต่ขั้นปฐมฌานเป็นต้นไป ครูบาอาจารย์ท่านก็จะมาฝึกให้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ เสียก่อน สมมติว่าเราได้เพียงปฐมฌานก็นำมาฝึกแล้ว เช่นที่คณะแม่ชีฝึกกันอยู่ในขณะนี้ บางท่านก็อยู่ในขั้นปฐมฌาน บางท่านก็อยู่ในขั้นทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
ถึงจะได้ฌานใดก็ตาม ก็ต้องเอามาฝึกให้ชำนิชำนาญเสียก่อน หากว่าไม่ชำนาญแล้ว ก็ไม่สามารถใช้สมาธิได้ตามความประสงค์ เหตุนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฝึกให้ชำนาญในวสีทั้ง ๕ ประการ คือ
๑. อาวัชชนวสี ชำนาญคล่องแคล่วในการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือว่าชำนาญในการพิจารณาองค์ฌาน เช่น เรากำหนดอาการพองอาการยุบก็มีความคล่องแคล่วหรือว่องไว ยกจิตขึ้นสู่อาการพองอาการยุบ และก็บริกรรมว่าพองหนอ ยุบหนอ หรือ พุทโธๆ ได้ทันที
๒. สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้าฌานเข้าสมาธิ อยากเข้าสมาธิภายใน ๓๐ วินาทีก็เข้าได้ อยากเข้าภายใน ๑ นาทีก็เข้าได้ ๒ นาทีก็เข้าได้ หรือเราอธิษฐานจิตไว้ว่า เมื่อข้าพเจ้ากราบเป็นครั้งที่ ๓ แล้ว ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที ก็สามารถเข้าได้ โดยกราบลงไปครั้งที่ ๑ เรากำหนดว่า กราบหนอ กราบลงไปครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓ กำหนดว่า กราบหนอๆ พอกราบเสร็จก็เข้าสมาธิไปได้เลย
หรือเราอธิษฐานว่า เมื่อข้าพเจ้าเดินจงกรมไปได้ ๗ ก้าว ขอให้สมาธิจิตของข้าพเจ้าดับสนิทแน่นิ่งไป ๕ นาที เราก็กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ พอถึงก้าวที่ ๗ ก็เข้าสมาธิไปเลย หมายความว่า อยากเข้าเวลาไหนก็ได้ การเข้าสมาธิได้ตามต้องการนี้เรียกว่า สมาปัชชนวสี
๓. อธิษฐานวสี ชำนาญในการรักษาจิตไว้ไม่ให้ออกจากฌานก่อนเวลา สมมติว่าเราต้องการจะเข้าสมาธิ ๕ นาที ก็สามารถจะเข้าได้ครบ ๕ นาที ไม่ออกก่อนเวลา ถ้าออกก่อนเวลา เรียกว่ายังไม่ชำนาญในอธิษฐานวสี ถ้าเราอยากอยู่ในสมาธิ ๓๐ นาที ๑ ชั่วโมง ๑๒ ชั่วโมง ๒๔ ชั่วโมงก็ดี ก็จะอยู่ได้ตามต้องการนั้นๆ ไม่ออกก่อนเวลา ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็เรียกว่าชำนาญในอธิษฐานวสี
๔. วุฏฐานวสี ชำนาญในการรักษาจิตไว้ไม่ให้เลยเวลาที่กำหนด สมมติว่าเรากำหนดจะเข้าสมาธิ ๕ นาที ก็ไม่ให้เลยไปแม้วินาทีหนึ่ง เราต้องการที่จะอยู่ ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง ก็อยู่ได้ครบพอดี ไม่ให้เลยเวลาไปแม้แต่นาทีเดียว ถ้าเราทำได้อย่างนี้ ก็ชื่อว่าชำนาญในวุฏฐานวสี
๕. ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณา คือชำนาญในการพิจารณาฌานที่ตนได้แล้ว ชำนาญในการเข้าการออก ตั้งแต่ฌานที่ ๑ จนถึงฌานที่ ๘ ตามลำดับๆ ถ้าเราได้ฌานทั้ง ๘ ก็ชำนาญในการพิจารณาฌานทั้ง ๘ พูดเอาง่ายๆว่า ชำนาญในการพิจารณาฌานของตน ได้ทั้งการเข้าการออก เรียกว่า ชำนาญในปัจจเวกขณวสี
นี้แล ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เท่าที่หลวงพ่อให้ท่านทั้งหลายฝึกสมาธิ ก็เพื่อให้ท่านชำนาญในการเข้าสมาธิออกสมาธิ เพื่อที่จะเข้าสมาธิได้ตามกำหนดกฎเกณฑ์ และอยู่ในฌานตามที่เรากำหนดไว้ เมื่อเราทั้งหลายชำนาญในวสีทั้ง ๕ นี้แล้ว เราก็สามารถใช้สมาธิใช้ฌานของเราได้ตามประสงค์
เอาละท่านทั้งหลายผู้พากเพียรภาวนา ธรรมะที่หลวงพ่อได้บรรยายมาในเรื่อง สมาบัติ ๘ ประการ ก็ได้ใช้เวลามาพอสมควร จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.

ธุดงควัตร
ธุดงควัตร คือ ข้อปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับให้ภิกษุถือปฏิบัติ ใครจะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ผู้ที่จะปฏิบัติธุดงควัตรนั้น สามารถเลือกได้เองตามความสมัครใจ ว่าจะปฏิบัติข้อใดบ้าง เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อจะถือปฏิบัติก็เพียงแต่กล่าวคำสมาทานธุดงควัตรข้อที่ตนเลือก แล้วก็เริ่มปฏิบัติได้เลย 
ธุดงควัตรมี 13 ข้อแบ่งเป็น 3 หมวด คือ 
หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับจีวร) 
1.) ปังสุกูลิกังคธุดงค์ (การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) คือการใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเอาไว้ตามกองขยะบ้าง ข้างถนนบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง นำผ้าเหล่านั้นมาซัก ย้อมสี เย็บต่อกันจนเป็นผืนใหญ่แล้วนำมาใช้ งดเว้นจากการใช้ผ้าใหม่ทุกชนิด (บังสุกุล แปลว่า คลุกฝุ่น) ใช้คำว่าสมาทานว่า "คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า “เรางดคฤหบดีจีวรเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร"

2.) เตจีวรริกังคธุดงค์ (การถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร) คือการใช้ผ้าเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น อันได้แก่ สบง(ผ้านุ่ง) จีวร(ผ้าห่ม) สังฆาฏิ(ผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น คลุมกันหนาว ปูนั่ง ปูนอน ปัดฝุ่น ใช้แทนสบง หรือจีวรเพื่อซักผ้าเหล่านั้น ปัจจุบันภิกษุไทยมักใช้พาดบ่าเมื่อประกอบพิธีกรรม)
คำสมาทานว่า “จตุตฺถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า “เรางดจีวรผืนที่ 4 เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร"
หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับบิณฑบาต )
3.) ปิณฑปาติกังคธุดงค์ (การถือบิณฑบาตเป็นวัตร) คือการบริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มาจากการรับบิณฑบาตเท่านั้น ไม่บริโภคอาหารที่คนเขานิมนต์ไปฉันตามบ้าน ใช้คำสมาทานว่า “อติเรกลาภํ ปฏิกฺขิปามิ ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ”แปลว่า “เรางดอติเรกลาภเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือบิณฑบาตรเป็นวัตร" 
4.) สปทานจาริกกังคธุดงค์ (การถือบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร) คือจะรับบิณฑบาตโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่เลือกว่าเป็นบ้านคนรวยคนจน ไม่เลือกว่าอาหารดีไม่ดี มีใครใส่บาตรก็รับไปตามลำดับ ไม่ข้ามบ้านที่ไม่ถูกใจไป ใช้คำสมาทานว่า “โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ สปทาน จาริกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดการเที่ยวโลเลเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตรไปตามแถวเป็นวัตร”
5.) เอกาสนิกังคธุดงค์ (การถือฉันจังหันในอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว) เป็นวัตร) คือ ในแต่ละวันจะบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำดื่ม ใช้คำสมาทานว่า “นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดการฉัน ณ ต่างอาสนะเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร
6.) ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ (ถือการฉันในภาชนะอันเดียว (คือฉันในบาตร) เป็นวัตร) คือจะนำอาหารทุกชนิดที่จะบริโภคในมื้อนั้น มารวมกันในบาตร แล้วจึงฉันอาหารนั้น เพื่อไม่ให้ติดในรสชาดของอาหาร ใช้คำสมาทานว่า “ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า เรางดภาชนะที่ 2 เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร” 
7.) ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ (ถือการห้ามภัตตาหารที่นำมาถวายภายหลังเป็นวัตร) คือเมื่อรับอาหารมามากพอแล้ว ตัดสินใจว่าจะไม่รับอะไรเพิ่มอีกแล้ว หลังจากนั้นถึงแม้มีใครนำอะไรมาถวายเพิ่มอีก ก็จะไม่รับอะไรเพิ่มอีกเลย ถึงแม้อาหารนั้นจะถูกใจเพียงใดก็ตาม ใช้คำสมาทานว่า “อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ ขลุปจฺฉาภตฺติกงคํสมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดโภชนะอันเหลือเฟือเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ห้ามภัตอันนำมาถวายเมื่อภายหลังเป็นวัตร “
หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุตต์ (เกี่ยวกับเสนาสนะ )
8.) อารัญญิกังคธุดงค์ (ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร) คือจะอยู่อาศัยเฉพาะในป่าเท่านั้น จะไม่อยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อไม่ให้ความพลุกพล่านวุ่นวายของเมืองรบกวนการปฏิบัติ หรือเพื่อป้องกันการพอกพูนของกิเลส ใช้คำสมาทานว่า “คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ อารญฺญิกงฺคํสมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดเสนาสนะชายบ้านเสีย สมาทานองค์แห่งผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
9.) รุกขมูลิกังคธุดงค์ (ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร) คือจะพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้เท่านั้น งดเว้นจากการอยู่ในที่มีหลังคาที่สร้างขึ้นมามุงบัง ใช้คำสมาทานว่า “ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า เรางดที่มุงบังเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร”
10.) อัพโภกาสิกังคธุดงค์ (ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้ง (อยู่กลางแจ้ง) เป็นวัตร) คือจะอยู่แต่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย แม้แต่โคนต้นไม้ เพื่อไม่ให้ติดในที่อยู่อาศัย ใช้คำสมาทานว่า “ฉนฺนญฺจ รุกฺมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดที่มุงที่บังและโคนไม้เสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร
11.) โสสานิกังคธุดงค์ (ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร) คือจะงดเว้นจากที่พักอันสุขสบายทั้งหลาย แล้วไปอาศัยอยู่ในป่าช้า เพื่อจะได้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ไม่ประมาท ใช้คำสมาทานว่า “อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดที่มิใช่ป่าช้าเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร “
12.) ยถาสันถติกังคธุดงค์ (ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร) คือเมื่อใครชี้ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้ ก็พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่ และเมื่อมีใครขอให้สละที่พักที่กำลังพักอาศัยอยู่นั้น ก็พร้อมจะสละได้ทันที ใช้คำสมาทานว่า “เสนาสนโลลุปฺเป ปฏิกฺขิปามิ ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดความโลเลในเสนาสนะเสีย สมาทานองค์ของผู้อยู่ในเสนาสนะเท่าที่ท่านจัดให้
13.) เนสัชชิกังคธุดงค์ (ถือการไม่นอนเป็นวัตร) คือจะงดเว้นอิริยาบถนอน จะอยู่ใน 3 อิริยาบทเท่านั้น คือ ยืน เดิน นั่ง จะไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย ถ้าง่วงมากก็จะใช้การนั่งหลับเท่านั้น เพื่อไม่ให้เพลิดเพลินในการนอน ใช้คำสมาทานว่า “เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ เนสชฺชิกงฺคั สมาทิยามิ” แปลว่า “เรางดการนอนเสีย สมาทานองค์ของผู้ถือการนั่งเป็นวัตร

#วัดหนองป่าพง 

สิ่งภายนอก เครียบ่ตกยังบอปานใด
แต่ถ้าเครียกับภายในได้ คือเครียกับจิตเจ้าของได้ กะบ่มีปัญหาหยัง

#สิ่งใด๋ดับไป สิ่งใด๋เกิดขึ้นแทน

#กะบักเฮานี่หละคือวิญญาณขันธ์
เพิลบ่ให้ถือมั่นบักเฮาเพราะว่ามันเป็นบักวิญญาณขันธ์

#มันสิพ้นทุกข์ไปได้จังใด๋ ถ้ามันยังอยากได้โผฏฐัพพะลักษณะ
แนวนั้นยุ

#สัตว์ทั้งหลายทำกรรม๓ต่างๆท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
ก็เพื่อให้ตนได้ประจวบกับรูปลักษณะนั้นๆ
ก็เพื่อให้ตนได้ประจวบกับเสียงลักษณะนั้นๆ
ก็เพื่อให้ตนได้ประจวบกับกลิ่นลักษณะนั้นๆw
ก็เพื่อให้ตนได้ประจวบกับรสลักษณะนั้น
ก็เพื่อให้ตนได้ประจวบกับโผฏฐัพพะลักษณะนั้นๆ
ก็เพื่อให้ตนได้ประจวบกับธัมมารมณ์ลักษณะนั้นๆ

ในเมื่อขณะที่ต้องประจวบกับ รูป
กะเกิดผล ๓ อย่าง 
คือเกิดกุศล เกิดอกุศล เกิดอัพยากต
ในเมื่อขณะที่ต้องประจวบกับ เสียง
กะเกิดกุศล เกิดอกุศล เกิดอัพยากต
ในเมื่อขณะที่ประจวบกับ กลิ่น
กะเกิดกุศล เกิดอกุศล เกิดอัพยากต
ในเมื่อขณะที่ประจวบกับ รส
กะเกิดกุศล เกิดอกุศล เกิดอัพยากต
ในเมื่อขณะที่ประจวบกับ โผฏฐัพพะ
กะเกิดกุศล เกิดอกุศล เกิดอัพยากต
ในเมื่อขณะที่ประจวบกับ ธัมมารมณ์
กะเกิดกุศล เกิดอกุศล เกิดอัพยากต

ในชีวิตนี้ถ้าบุคคลนั้นประจวบกับ
รูป/เสียง/กลิ่น/รส/โผฏฐัพพะ/ธัมมารมณ์ แล้ว ส่วนมากเกิดแต่กุศล  เวลาตายกุศลให้ผล 
กุศลขั้นสูงให้ผลก็ไปเกิดเป็นพรหม
กุศลขั้นกลางให้ผลก็ไปเกิดเป็น เทวดาฝ่ายชาย(เทพบุตร) หรือเทวดาฝ่ายหญิง(เทพธิดา)
กุศลขั้นต้นให้ผลก็ไปเกิดเป็นมุษย์

ในชีวิตนี้ถ้าบุคคลนั้นประจวบกับ
รูป/เสียง/กลิ่น/รส/โผฏฐัพพะ/ธัมมารมณ์ แล้ว ส่วนมากเกิดแต่อกุศล  เวลาตายอกุศลให้ผล
อกุศลคือโทสะให้ผล ก็เกิดในนรก
อกุศลคือโลภะให้ผล ก็เกิดเป็นเปตร
อกุศลคือโมหะให้ผล ก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

คนสวยคนหล่อคนมีรูปร่างกายดี ผิวพรรณสวยสดงามเพียงใดก็ตาม หล่อมากหล่อน้อยก็ตาม สวยมากสวยน้อยก็ตาม
ถ้าในแต่ละวันกระทบผัสสะหรือมีการประจวบแล้ว เกิดแต่อกุศล ระวังจะไปเกิดในนรก เดรัจฉาน เปตรวิสัย นะ
ลองสำรวจมาที่ใจดูสิ ถ้าพบว่าส่วนมากมีแต่โลภ(จิตมีความโลภ)
ก็ให้รู้จักเป็นผู้ให้ เป็นผู้เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สละออกทำทานให้อยู่เสมอเป็นประจำ มากบ้างน้อยบ้างตามโอกาสตามเหตุการณ์ที่ควร อย่าเห็นแก่ตัวนัก ให้เน้นเอาออก(โดยที่ไม่เป็นทุกข์) ไม่เน้นรับ   ความโลภนั้นมันเหมือนเปตร
ให้เราหนีออกห่างจากความเป็นเปตรให้ได้


ถ้าพบว่าส่วนมากมีแต่โทสะ(จิตมีความโกธร ความเกลียด )
ก็ให้รู้จักขยันฝึกมีเมตตา คิดสงสารคนอื่นให้มากๆ
ให้อภัยให้มากๆ ปล่อยวางให้มากๆ

เพราะคนมีโทสะมากนั้นมันเหมือนคล้ายกับว่า เคยไปตกนรกวนอยู่เกิดตายอยู่ตามขุมต่างๆมาแล้วตลอดกาลยาวนาน จึงมีความชินแบบนั้นติดมามาก

ให้เราหนีห่างจากสัตว์นรกให้ได้
โดยการฝึกมีเมตตา


ถ้าพบว่าส่วนมากมีแต่โมหะ(จิตมีความหลงเม่อลอย ขาดสติ)
ก็ให้รีบเลิกเหล้าซะ เพราะเหล้าเป็นตัวเพิ่มโมหะ แล้วหันมาฝึกเจริญสติให้มากขึ้น ,อานาปานสติก็ได้ (รู้ลมหายใจเข้าออกบ่อยๆ)

ถ้าโมหะเยอะนั้นแสดงว่า เคยเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานติดต่อกันหลายภพหลายชาติ จึงมีความเคยชินติดมามาก

ให้เราแก้ โดยการฝึกเจริญสติแบบที่พระพุทธเจ้าประทานไว้ให้คือฝึกสติปัฏฐานสี่


พระพรหม เมื่อกำลังกุศลระดับสูงอันเกิดจากสมาธิ
ให้ผลอ่อนกำลังลงเรื่อยๆ
ก็เคลื่อนจุติลงมาเกิดใหม่
ถ้าเกิดในสุคติภูมิ
ก็เกิดเป็นมนุษย์ ก็เกิดเป็นเทวดา
ถ้าเกิดในทุคติภูมิ
ก็เกิดเป็นสัตว์นรก ก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็เกิดเป็นเปตร ก็เกิดเป็นอสูรกาย


เทวดา
เมื่อกำลังกุศลระดับกลางอันเกิดจากบุญ
อ่อนกำลังลงก็เคลื่อนจุติลงมาเกิดใหม่
ถ้าเกิดในสุคติภูมิ
ก็เกิดเป็นเทวดาซ้ำอีก (แต่ชั้นต่ำลงมา)
ก็เกิดเป็นมนุษย์
ถ้าเกิดในทุคติภูมิ
ก็เกิดเป็นสัตว์นรก ก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ก็เกิดเป็นเปตร ก็เกิดเป็นอสูรกาย

มนุษย์
#ยังสิไปหัวชามันยุติ.. สิ่งที่เกิดที่ดับนั่น
ยังสิไปหัวชามันยุติ  มันเกิดดับยุจังซั่นละ
แมยสิหัวชาหรือบอหัวชา
แต่พวกปุถุชนคนหนา พวกเขาหัวชามัน หัวชาจนเป็นทุกข์

#

แด่...ผู้เจริญสติ เจริญภาวนา
# การเจริญสติ คือ มีความเพียร พยายามระลึกรูปต
่างๆ อันได้แก่ ภาพ เสียง กลิ่น รส โพฏฐัพพะ
ธรรมารมณ์ ที่กระทบอยู่ ในขณะนั้นๆ
ประคองให้เห็นอยู่ ในกาย ในใจของตัวเอง พร้อมความสังเกตุ รอ เพื่อเห็นกายสังขาร,จิตตสังขารปรากฏ
ภายหลังจากความดับไปแห่งตัณหามานะอัตตาตัวตน


จากการเจริญอริยมรรค มีองค์ ๘ ในขณะนั้นๆ
พึงเห็นอาการ ความรู้สึก ปรากฏ เกิด ในกาย ในใจ คือปัญญาได้เห็นกิเลส ปรากฏ เกิด ในกาย ในใจของตัวเอง
จากการระลึกรูปต่างๆ ที่สติ ระลึกไว้ ขณะกระทบ
ก็ต่อเมื่อความดับไปแห่งตัณหามานะอัตตาผู้หลงมีขึ้นแล้ว พึงเห็น กิเลสรูปแบบต่างๆ ปรากฏ งอกงามขึ้น
บนสติระลึก พร้อมๆกับปัญญา ปรากฏ เกิด งอกงามควบคู่ไปกับกิเลส กิเลสรูปแบบต่างๆ ปรากฏ เกิด
งอกงามขึ้น บนสติระลึก พร้อมๆกับปัญญา ปรากฏ เกิด
งอกงามควบคู่ไปกับ กายสังขาร,จิตตสังขาร
กระทั่งเห็นกิเลสเสื่อม และแปรสภาพไปตาม
เวลาที่ถูกเห็นด้วยปัญญา บนสติระลึก
# ปัญญา จึงได้เห็นทั้งการปรากฏ เกิด งอกงาม และ
ความเสื่อม แปรสภาพไป ของกิเลส จึงรู้แจ้งในทุกข์อริยสัจจ์ ๔
# ผู้รู้ คือ ผู้ที่เห็นปฏิกิริยาของตัณหาอัตตาตัวเอง
ขณะกระทบภาพ เสียง กลิ่น รส โพฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
ในขณะนั้นๆ
#ผู้รู้ คือ ผู้ที่เห็นมานะอัตตาตัวเอง บัญญัติ กําหนด ให้ความหมาย ต่อสิ่งที่ปรากฏ ในกาย-ใจของตัวเองอยู่ในขณะนั้นๆ
#การเจริญสติ อาศัย # สัมมาทิฏฐิ
มีความระลึก สังเกตุ สงสัย รอการเห็นสิ่งที่ปรากฏ เกิด
ในกาย-ใจ ของตัวเอง ด้วยการระลึกภาพ เสียง กลิ่น รส
โพฐัพพะ ธรรมารมณ์ เพื่อเห็นอาการ อารมณ์
ความรู้สึก นึกคิด ตัณหารูปแบบต่างๆ ปรากฏ เกิดในกาย-ใจตัวเอง แล้วงอกงามขึ้น และแปรเปลี่ยนไป
ตามเวลาที่ถูกเห็นโดยปัญญา บนสติระลึก (ความระลึกชอบ) อันหมายถึง ปัญญา ได้ปรากฏ เกิด
และงอกงามควบคู่ไปกับกิเลส บนสติระลึก และยังหมาย
ถึงกายสังขาร,จิตตสังขารไม่ปรากฏ ปัญญาไม่เกิด
เพราะปัญญาเกิด เพื่อมารองรับการเห็นทุกข์ และรู้แจ้ง
ในทุกข์
(ผู้รู้ ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ คือ
ความพากเพียรชอบ)
กระทั่งกายสังขาร,จิตตสังขารระงับ พึงเห็นธรรมอันเป็นธรรมชาติ คือ ปฏิจจสมุปปบาท เป็นการเกิดขึ้น
แห่งธรรมเพราะอาศัยกัน ปรากฏ เกิด และแสดง บน
# สัมมาสติ ตามกําลังของ # สัมมาสมาธิ
คือ พ้นจากความระลึก พ้นจากการบัญญัติ ให้
ความหมาย จึงมีแต่ #อุเบกขา ที่รับรู้ การปรากฏ เกิด
และแสดงของทุกข์นั้นๆอยู่ ตามความเป็นจริง
ไม่มีมานะอัตตาใดๆ ที่เข้าไปบัญญัติว่า สิ่งที่ปรากฏ
เกิด และแสดงอยู่บนสัมมาสติขณะนั้นๆ เป็นบาป-บุญ ดี-
ชั่ว น่าเกลียด หรือน่ากลัวแต่ประการใด และไม่มีเรา
หรือเขา ที่เข้าไปเป็นเจ้าของการแสดงนั้นๆ
กระทั่งสัมมาสมาธิหยุดลง สติ จะกลับมาเป็นสติระลึก
จึงระลึกได้ว่า ทุกข์ที่ปรากฏชั่วครู่ขณะเมื่อครู่ที่ผ่านมา
เป็นบาป-บุญ น่าเกลียด-ประทับใจ พร้อมๆทั้งความอัศจรรย์ ที่ได้เห็นสิ่งดังกล่าว
(หน้า 013)
.....................................................................
รวบรวมแนวทางภาวนา
"เพื่อการเห็นทุกข์ และรู้แจ้งทุกข์
ของ "หลวงพ่อชา สุภัทโท"
"หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต"
"หลวงปู่หล้า เขมปัตโต"
"หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เมตตาแสดงในสมาธิฆราวาส ๗ ท่าน
ในโอกาสต่างกัน เช่น ขณะทํางาน , ขับรถ , ดูโทรทัศน์
,นอน
ในช่วงเดือน มกราคม 2557 - กุมภาพันธ์ 2558
ผู้รวบรวม : นายแพทย์อนันต์ อุ่นแก้ว
(จิตเวชศาสตร์)
วิสุทธิ์ วระศิริ (อาจารย์ ส.)
(ผู้ปฏิบัติภาวนา / นําเผยแผ่)

ธรรมะพระอนาคามีละวิญญาณตัวเดียวหลุดพ้น

พระสุตตัน​ตปิฎก เล่ม ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค - หน้าที่ 44 ความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็น วิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ ให้ถึงสักกายสมุทัย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คําที่​กลาวแล้วนี้ เรียกว่า การตามเห็นอันจะยังสัตว์ ให้ถึงทุกขสมุทัย (ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์) นี้แล เป็นใจความข้อนี้.